Mobility of Livestock across the Southeast Asian Borderland.
Re-imagining the refugee camp: Sovereignty and Time-Space Formation along the Thailand-Burma borderland.
Summary Refugee camps are often depicted as temporary and isolated spaces in which lives of refugees are understood as bare life, stuck in between, or waiting. However, as refugee camps around the world are increasingly turning into long-term camps, and temporariness becomes permanence, dominant discourses about the refugee camp no longer adequately address the changing […]
Sustainable Solutions to the Displaced Person Situation on the Thai Myanmar Border.
Chulalongkorn University funded by the United Nations Development Programme, Thailand.
Sunset at the Patpong street: Spatial perception and epistemology of Redlight district in Bangkok.
พัฒน์พงษ์ เมื่อตะวันตกดิน: การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ในเขตโคมแดงในกรุงเทพจิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Abstract (อยู่ในระหว่างการวิจัย) มนุษย์และพื้นที่ล้วนประกอบสร้างและให้ความหมายกันและกันผ่านการปฏิสัมพันธ์ของคน สิ่งของ โครงสร้างและสถานที่สถานที่อย่างซอยพัฒน์พงษ์ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ย่านธุรกิจและสถานบันเทิงจึงอาจมอบนิยามความหมายแก่คนในพื้นที่นั้น ในขณะเดียวกันจากสายตาคนนอกที่มองเข้ามาในพื้นที่ก็อาจไม่แตกต่างกันนัก ประเด็นคือมุมมองจาก “คนใน” พื้นที่พัฒน์พงษ์อาจให้นิยามความหมายใหม่ต่อพื้นที่นี้ได้ซึ่งแตกต่างออกไป และอาจได้นิยามความหมายของพื้นที่พัฒน์พงษ์ที่นอกเหนือไปจากพื้นที่อโคจรหรือพิ้นที่แห่งความเริงรมย์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาพัฒน์พงษ์ที่เป็นทั้งพื้นที่ สถานที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเพศสภาพของมนุษย์เพื่อหานิยามความหมายใหม่จากการรับรู้ของคนในพื้นที่และการปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ ในพื้นที่เหล่านั้น
Sex in the City: Space, Sex work and Thai female Migrants in the Netherlands.

เซ็กส์ในนคร:พื้นที่ งานบริการทางเพศ และผู้หญิงไทยในเนเธอร์แลนด์จิราพร เหล่าเจริญวงษ์ สนับสนุนโดยศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Abstract เมื่อกล่าวถึงเมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเมืองที่กัญชาและการขายบริการทางเพศเป็นเรื่องถูกกฎหมายและทำได้อย่างเสรี หน้าต่างร้านในเขตโคมแดง (Red Light District) ที่มองเข้าไปเห็นผู้หญิงยืนอยู่ด้านในเป็นสัญลักษณ์ ภาพจำ และเป็นจุดขายของเมืองอัมสเตอร์ดัม อยู่คู่กับเมืองอัมสเตอร์ดัมจนกลายเป็นดั่งธรรมเนียมปฏิบัติของนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่ต้องไปเห็นย่านนี้กับตาเมื่อเดินทางมายังเมืองนี้ สำหรับชาวเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ นั้น ย่านโคมแดงได้ดำรงอยู่มานานจนเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่การหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือแม้กระทั่งรู้สึกว่าถูกคุกคามเมื่อมีนักท่องเที่ยวที่เมามายมายืนร้องเพลงส่งเสียงดังในละแวกบ้านของพวกเขา ในปี ค.ศ. 2007 เทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัมได้อ้างเหตุผลเรื่องตัวเลขการค้ามนุษย์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อประกาศนโยบายต่อสู้และกวาดล้างอาชญากรรมในเขตโคมแดงในนามโปรเจกต์ 1012 (เป็นหมายเลขรหัสไปรษณีย์ของย่านโคมแดง) โดยสั่ง “ปิดตู้บริการ/หน้าต่าง” กล่าวคือ ให้ปิดสถานที่ค้าบริการเหล่านี้กว่าร้อยแห่งและยึดพื้นที่คืน ส่งผลให้ผู้ขายบริการทางเพศหลายร้อยคนกลายเป็นคนตกงานเพราะไม่มีสถานที่ทำงาน จึงเกิดการเดินขบวนประท้วงคัดค้านโปรเจกต์ 1012 และขอพื้นที่ทำงานของพวกเธอคืน แต่เทศบาลกลับเชิญชวนประชากรกลุ่มใหม่ เช่น นักธุรกิจ และศิลปินเข้ามาอาศัยอยู่และใช้พื้นที่ย่านนี้ประกอบธุรกิจหรือจัดแสดงศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับทัศนียภาพพื้นที่ใหม่ และล้างภาพจำที่ผู้คนเคยมีต่ออัมสเตอร์ดัม ปรากฏการณ์ข้างต้นสะท้อนความขัดแย้งระหว่างการขายบริการทางเพศ เมือง การใช้พื้นที่ของเมืองผ่านนโยบายของเทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัม แม้ว่าในนโยบายระดับชาติ การขายบริการทางเพศยังคงเปิดเสรี แต่การที่เทศบาลเมืองเข้ามาจัดการพื้นที่และกวาดล้างเครือข่ายอาชญากรรมในนามโปรเจกต์ 1012 นั้น นอกจากจะส่งผลให้พื้นที่เปิดสำหรับผู้ขายบริการทางเพศลดลงแล้ว นโยบายดังกล่าวยังทำให้การขายบริการทางเพศที่เคยสามารถทำได้โดยเปิดเผยต้องกลับลงไปอยู่ใต้ดินและไม่เป็นที่รับรู้อีกครั้ง นอกจากนี้ […]
Patpong: More than you think

บทสะท้อนผ่านสายตาจากการทดลองลงพื้นที่สัมผัสย่านพัฒน์พงษ์ไม่มากแต่ก็ไม่น้อย เนรัญธิญา สรรพประเสริฐ (ผู้ช่วยวิจัยโครงการ) “ไปทำไมพัฒน์พงษ์” “พี่ก็ไม่รู้ทางแถวนี้หรอก พี่ไม่ใช่คนแบบนั้น” “ตอนเด็ก ๆ เนี่ย แม่พี่ห้ามเลยนะ ว่าเป็นผู้หญิง อย่าเข้ามาพัฒน์พงษ์” ร้อยพันคำกล่าวเกี่ยวกับตำนานย่านพัฒน์พงษ์ไม่ได้ชวนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีแม้แต่นิดในการเลือกก้าวเข้ามาที่นี่ ทั้งท้าทายความเป็นหญิงและกฎเกณฑ์ของสังคม.. . . “พัฒน์พงษ์” ในฐานะย่านสถานบันเทิงหลักของกรุงเทพมหานครไม่ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีนักต่อตัวมันเองและผู้คนที่ ‘อยู่’ ณ พื้นที่ตรงนั้น อันที่จริงภาพจำของข้าพเจ้าต่อพัฒน์พงษ์เกือบเป็นศูนย์ หากไม่นับว่า เนื้อเพลงท่อนนึงในเพลง Made In Thailand ของวงคาราบาวคือความทรงจำ ลักษณะของพื้นที่พัฒน์พงษ์คือซอยเล็ก ๆ สองซอยขนานกัน แต่ตั้งฉากกับถนนสีลมและถนนสุรวงศ์ ในเวลากลางวัน พัฒน์พงษ์เงียบสงบ ตึกรามแข็งทื่อดูเหมือนไม่มีชีวิต พอยามบ่ายเสียงเริ่มมา โดยเฉพาะเสียงจากการตั้งตลาดไนท์มาร์เก็ตที่ซอยหนึ่ง หากในยามพระอาทิตย์ตกดิน พัฒน์พงษ์จึงตื่นเต็มตา แสงสีเสียงเปิดพรึ่บ พร้อมต้อนรับ ‘ใคร’ ก็ตามที่จะเข้าไป แต่อย่างที่บอก ไม่ใช่ทุกคนที่เต็มใจจะก้าวเข้าไปที่พัฒน์พงษ์ มันเป็นเพราะภาพจำและวาทกรรมของสถานที่แห่งนั้นที่กล่อมเกลาให้ผู้คนทั่วไปคิดว่านั่นเป็นสถานที่ที่ไม่ควรก้าวเข้าไปหากเป็น ‘คนดีดี’ พัฒน์พงษ์จึงคล้ายเมืองลับแล ที่มีแต่คนคุ้นเคย (กับสถานที่) เท่านั้นที่จะเดินเข้าไปในเมืองนี้ได้อย่างสบายใจ แต่ความคิดและภาพจำเหล่านั้นก็หายไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อฉัน […]
Art Gallery of Patpong by Tawan Wattuya.

งานจัดแสดงภาพวาดสีน้ำของคุณตะวัน วัตุยา ภายใต้คอนเซปต์ของความเป็นพัฒน์พงษ์เมื่อยุค 80s ที่เป็นแดนสวรรค์ของใครหลาย ๆ คน คุณตะวันนำเสนอภาพวาดของคนทำงานกลางคืนในย่านนี้ การจัดแสดงนี้ดำเนินไปพร้อมกับเสียงเพลงยุค 80s และมี ‘พวกเธอ’ เต้นอะโกโก้ไปตามจังหวะอย่างมีกระจิตกระใจ ย้อนกลับไปยังเมื่อสมัยนั้นที่การเต้นอะโกโก้ยังสนุกสนานกว่านี้ พวกเธอทำหน้าที่อย่างดี ทำให้งานสนุกสนาน มีบรรยากาศชวนพูดคุย เมื่อสอบถามคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่เมื่อสมัยก่อนแล้วนั้น เขาต่างบอกว่า ‘บรรยากาศเหมือนสมัยก่อน’ หากคุณตะวันและทีมงานอยากให้ผู้คนสัมผัสถึงประสบการณ์ความเป็นพัฒน์พงษ์เมื่อกาลก่อน ถือว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้เรา ‘จินตนาการ’ ภาพของพัฒน์พงษ์ในสมัยก่อนและรับรู้ได้ว่าทำไมพัฒน์พงษ์จึงรุ่งเรืองถึงขีดสุด เนรัญธิญา