Patpong: More than you think

บทสะท้อนผ่านสายตาจากการทดลองลงพื้นที่สัมผัสย่านพัฒน์พงษ์ไม่มากแต่ก็ไม่น้อย เนรัญธิญา สรรพประเสริฐ (ผู้ช่วยวิจัยโครงการ) “ไปทำไมพัฒน์พงษ์” “พี่ก็ไม่รู้ทางแถวนี้หรอก พี่ไม่ใช่คนแบบนั้น” “ตอนเด็ก ๆ เนี่ย แม่พี่ห้ามเลยนะ ว่าเป็นผู้หญิง อย่าเข้ามาพัฒน์พงษ์” ร้อยพันคำกล่าวเกี่ยวกับตำนานย่านพัฒน์พงษ์ไม่ได้ชวนทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกดีแม้แต่นิดในการเลือกก้าวเข้ามาที่นี่ ทั้งท้าทายความเป็นหญิงและกฎเกณฑ์ของสังคม.. . . “พัฒน์พงษ์” ในฐานะย่านสถานบันเทิงหลักของกรุงเทพมหานครไม่ได้สร้างภาพลักษณ์ที่ดีนักต่อตัวมันเองและผู้คนที่ ‘อยู่’ ณ พื้นที่ตรงนั้น อันที่จริงภาพจำของข้าพเจ้าต่อพัฒน์พงษ์เกือบเป็นศูนย์ หากไม่นับว่า เนื้อเพลงท่อนนึงในเพลง Made In Thailand ของวงคาราบาวคือความทรงจำ ลักษณะของพื้นที่พัฒน์พงษ์คือซอยเล็ก ๆ สองซอยขนานกัน แต่ตั้งฉากกับถนนสีลมและถนนสุรวงศ์ ในเวลากลางวัน พัฒน์พงษ์เงียบสงบ ตึกรามแข็งทื่อดูเหมือนไม่มีชีวิต พอยามบ่ายเสียงเริ่มมา โดยเฉพาะเสียงจากการตั้งตลาดไนท์มาร์เก็ตที่ซอยหนึ่ง หากในยามพระอาทิตย์ตกดิน พัฒน์พงษ์จึงตื่นเต็มตา แสงสีเสียงเปิดพรึ่บ พร้อมต้อนรับ ‘ใคร’ ก็ตามที่จะเข้าไป แต่อย่างที่บอก ไม่ใช่ทุกคนที่เต็มใจจะก้าวเข้าไปที่พัฒน์พงษ์ มันเป็นเพราะภาพจำและวาทกรรมของสถานที่แห่งนั้นที่กล่อมเกลาให้ผู้คนทั่วไปคิดว่านั่นเป็นสถานที่ที่ไม่ควรก้าวเข้าไปหากเป็น ‘คนดีดี’ พัฒน์พงษ์จึงคล้ายเมืองลับแล ที่มีแต่คนคุ้นเคย (กับสถานที่) เท่านั้นที่จะเดินเข้าไปในเมืองนี้ได้อย่างสบายใจ แต่ความคิดและภาพจำเหล่านั้นก็หายไปอย่างสิ้นเชิง เมื่อฉัน […]
Art Gallery of Patpong by Tawan Wattuya.

งานจัดแสดงภาพวาดสีน้ำของคุณตะวัน วัตุยา ภายใต้คอนเซปต์ของความเป็นพัฒน์พงษ์เมื่อยุค 80s ที่เป็นแดนสวรรค์ของใครหลาย ๆ คน คุณตะวันนำเสนอภาพวาดของคนทำงานกลางคืนในย่านนี้ การจัดแสดงนี้ดำเนินไปพร้อมกับเสียงเพลงยุค 80s และมี ‘พวกเธอ’ เต้นอะโกโก้ไปตามจังหวะอย่างมีกระจิตกระใจ ย้อนกลับไปยังเมื่อสมัยนั้นที่การเต้นอะโกโก้ยังสนุกสนานกว่านี้ พวกเธอทำหน้าที่อย่างดี ทำให้งานสนุกสนาน มีบรรยากาศชวนพูดคุย เมื่อสอบถามคนที่คุ้นเคยกับพื้นที่เมื่อสมัยก่อนแล้วนั้น เขาต่างบอกว่า ‘บรรยากาศเหมือนสมัยก่อน’ หากคุณตะวันและทีมงานอยากให้ผู้คนสัมผัสถึงประสบการณ์ความเป็นพัฒน์พงษ์เมื่อกาลก่อน ถือว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้เรา ‘จินตนาการ’ ภาพของพัฒน์พงษ์ในสมัยก่อนและรับรู้ได้ว่าทำไมพัฒน์พงษ์จึงรุ่งเรืองถึงขีดสุด เนรัญธิญา