Sunset at the Patpong street: Spatial perception and epistemology of Redlight district in Bangkok.

พัฒน์พงษ์ เมื่อตะวันตกดิน: การแสวงหาความรู้เกี่ยวกับพื้นที่ในเขตโคมแดงในกรุงเทพจิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Abstract (อยู่ในระหว่างการวิจัย) มนุษย์และพื้นที่ล้วนประกอบสร้างและให้ความหมายกันและกันผ่านการปฏิสัมพันธ์ของคน สิ่งของ โครงสร้างและสถานที่สถานที่อย่างซอยพัฒน์พงษ์ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ย่านธุรกิจและสถานบันเทิงจึงอาจมอบนิยามความหมายแก่คนในพื้นที่นั้น ในขณะเดียวกันจากสายตาคนนอกที่มองเข้ามาในพื้นที่ก็อาจไม่แตกต่างกันนัก ประเด็นคือมุมมองจาก “คนใน” พื้นที่พัฒน์พงษ์อาจให้นิยามความหมายใหม่ต่อพื้นที่นี้ได้ซึ่งแตกต่างออกไป และอาจได้นิยามความหมายของพื้นที่พัฒน์พงษ์ที่นอกเหนือไปจากพื้นที่อโคจรหรือพิ้นที่แห่งความเริงรมย์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งศึกษาพัฒน์พงษ์ที่เป็นทั้งพื้นที่ สถานที่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเพศสภาพของมนุษย์เพื่อหานิยามความหมายใหม่จากการรับรู้ของคนในพื้นที่และการปฏิสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ .ในพื้นที่เหล่านั้น

Sex in the City: Space, Sex work and Thai female Migrants in the Netherlands.

เซ็กส์ในนคร:พื้นที่ งานบริการทางเพศ และผู้หญิงไทยในเนเธอร์แลนด์จิราพร เหล่าเจริญวงษ์ สนับสนุนโดยศูนย์ยุโรปศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Abstract เมื่อกล่าวถึงเมืองอัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) ประเทศเนเธอร์แลนด์ คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเมืองที่กัญชาและการขายบริการทางเพศเป็นเรื่องถูกกฎหมายและทำได้อย่างเสรี หน้าต่างร้านในเขตโคมแดง (Red Light District) ที่มองเข้าไปเห็นผู้หญิงยืนอยู่ด้านในเป็นสัญลักษณ์ ภาพจำ และเป็นจุดขายของเมืองอัมสเตอร์ดัม อยู่คู่กับเมืองอัมสเตอร์ดัมจนกลายเป็นดั่งธรรมเนียมปฏิบัติของนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่ต้องไปเห็นย่านนี้กับตาเมื่อเดินทางมายังเมืองนี้ สำหรับชาวเมืองที่อาศัยอยู่บริเวณรอบๆ นั้น ย่านโคมแดงได้ดำรงอยู่มานานจนเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวัน แต่การหลั่งไหลเข้ามาของนักท่องเที่ยวทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญหรือแม้กระทั่งรู้สึกว่าถูกคุกคามเมื่อมีนักท่องเที่ยวที่เมามายมายืนร้องเพลงส่งเสียงดังในละแวกบ้านของพวกเขา ในปี ค.ศ. 2007 เทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัมได้อ้างเหตุผลเรื่องตัวเลขการค้ามนุษย์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อประกาศนโยบายต่อสู้และกวาดล้างอาชญากรรมในเขตโคมแดงในนามโปรเจกต์ 1012 (เป็นหมายเลขรหัสไปรษณีย์ของย่านโคมแดง) โดยสั่ง “ปิดตู้บริการ/หน้าต่าง” กล่าวคือ ให้ปิดสถานที่ค้าบริการเหล่านี้กว่าร้อยแห่งและยึดพื้นที่คืน ส่งผลให้ผู้ขายบริการทางเพศหลายร้อยคนกลายเป็นคนตกงานเพราะไม่มีสถานที่ทำงาน จึงเกิดการเดินขบวนประท้วงคัดค้านโปรเจกต์ 1012 และขอพื้นที่ทำงานของพวกเธอคืน แต่เทศบาลกลับเชิญชวนประชากรกลุ่มใหม่ เช่น นักธุรกิจ และศิลปินเข้ามาอาศัยอยู่และใช้พื้นที่ย่านนี้ประกอบธุรกิจหรือจัดแสดงศิลปะ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับทัศนียภาพพื้นที่ใหม่ และล้างภาพจำที่ผู้คนเคยมีต่ออัมสเตอร์ดัม ปรากฏการณ์ข้างต้นสะท้อนความขัดแย้งระหว่างการขายบริการทางเพศ เมือง การใช้พื้นที่ของเมืองผ่านนโยบายของเทศบาลเมืองอัมสเตอร์ดัม แม้ว่าในนโยบายระดับชาติ การขายบริการทางเพศยังคงเปิดเสรี แต่การที่เทศบาลเมืองเข้ามาจัดการพื้นที่และกวาดล้างเครือข่ายอาชญากรรมในนามโปรเจกต์ 1012 นั้น นอกจากจะส่งผลให้พื้นที่เปิดสำหรับผู้ขายบริการทางเพศลดลงแล้ว นโยบายดังกล่าวยังทำให้การขายบริการทางเพศที่เคยสามารถทำได้โดยเปิดเผยต้องกลับลงไปอยู่ใต้ดินและไม่เป็นที่รับรู้อีกครั้ง นอกจากนี้ […]